เรียนรู้เกี่ยวกับไมโครไบโอม (microbiome)

1. ไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร (gut microbiome) คืออะไร

ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้นจากเซลล์หลากหลายรูปแบบ บางเซลล์เป็นเซลล์ของมนุษย์เอง เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์เม็ดเลือด แต่นอกจากนี้มนุษย์เรายังเป็นแหล่งอาศัยของเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกเป็นจำนวนล้านล้านล้านเซลล์ ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย เชื้อรา โพรทิส และไวรัส  กลุ่มของเซลล์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายเราเหล่านี้ เรียกรวมกันว่าเป็นไมโครไบโอม และพวกมันมียีนเฉพาะของตัวมันเอง  ไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารหมายถึงจุลชีพต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหารของเรา ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความหลากหลายของเชื้อจุลชีพมากที่ในร่างกาย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังสนใจศึกษาความสัมพันธ์และบทบาทที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเราในปัจจุบัน

2. มันมาจากที่ไหน?

ส่วนมากแล้วเราได้รับจุลชีพเหล่านี้มาจากคนอื่น เด็กทารกได้รับการถ่ายทอดจุลชีพครั้งแรกมาจากช่องคลอด ผิว และน้ำนมของมารดา รวมทั้งก็จะได้รับจากคนอื่นๆที่มาแตะต้องพวกเขา เมื่อเด็กเติบโตขึ้นก็จะได้รับจุลชีพจากสิ่งแวดล้อม จากคนอื่นๆ จากพืชและสัตว์ รวมทั้งอาหารที่เรารับประทาน

3. เหล่าไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารมีหน้าที่อะไร?

จุลชีพหรือไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารที่จริงแล้วมันช่วยเราในด้านของสุขภาพ พวกมันเป็นแหล่งพลังงานประมาณ 10% ที่เราใช้อยู่ทุกวัน เนื่องจากมันสามารถย่อยบางสิ่งที่เราทานเข้าไปแต่กระเพาะเราไม่สามารถย่อยมันได้  ไมโครไบโอมในทางเดินอาหารของคุณยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์วิตามินอย่างเช่นไบโอตินและวิตามินเค รวมทั้งสร้างฮอร์โมนที่จะที่จะส่งสัญญาณบอกร่างกายของคุณว่าจะเก็บหรือไม่เก็บไขมัน  พวกมันยังสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและปกป้องคุณจากโรคต่างๆอีกด้วย

4. แล้วทุกคนมีไมโครไบโอมคล้ายกันหรือไม่?

แต่ละคนมีไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทาน วิถีชีวิต และประวัติการเข้าสังคม ดังนั้นจึงมีความแตกต่างเล็กน้อยในแง่ของความหลากหลายจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง แม้ว่าจะมีแบคทีเรียมากกว่า 1000 สปีชี่ส์ที่สามารถมาเป็นสมาชิกของกลุ่มไมโครไบโอมในทางเดินอาหารได้ แต่ในระบบทางเดินอาหารคนเราแต่ละคนนั้นกลับมีมันอยู่เพียง 150 ถึง 170 สปีชี่ส์เท่านั้น  คนที่มีความเกี่ยวข้องกันหรืออาศัยอยู่ร่วมกันมีแนวโน้มที่จะมีไมโครไบโอมแบบเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไปไมโครไมโอมในระบบทางเดินอาหารนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนอาหาร ทานยาปฏิชีวนะ หรือไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ บางสิ่งบางอย่าง อย่างเช่นการควบคุมอาหาร วิถีชีวิต และการทานยา ทำให้ไมโครไบโอมเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มจะเข้าใจนั้น

5. อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารกับสุขภาพและโรค?

นักวิจัยได้ทำการค้นหาว่าไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น น้ำหนักเกิน หอบหืด เบาหวาน มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่องและโรคหัวใจ  มีปัจจัยบ่งชี้ว่าไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารอาจส่งผลต่อการนอนหลับ อารมณ์ ความตื่นกลัว และพฤติกรรมต่างๆ  พวกมันยังสามารถส่งผลถึงการตอบสนองของยาอีกด้วย งานวิจัยได้เจาะลึกความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารที่มันไปมีผลกระทบต่อสุขภาพคนเราอย่างมาก

6. ทำไมต้องเก็บตัวอย่างให้ได้คุณภาพดีเมื่อต้องการศึกษาไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร?

นักวิจัยต้องการที่จะได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุดเพื่อวัดผลไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร แต่น่าเสียดายที่ธรรมชาติของไมโครไบโอมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อการเก็บตัวอย่างนั้นไม่ดีพอ เช่นอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมระหว่างเก็บตัวอย่างและขนส่ง  ข้อมูลไมโครไบโอมที่ไม่ถูกต้อง ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่นักวิจัย ส่งผลให้ข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน และเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องจำเป็นมากที่ต้องปกป้องตัวอย่างของคุณตั้งแต่เริ่มต้น

ชุดเก็บตัวอย่าง OMNIgene•GUT collection kit สามารถเก็บตัวอย่างของคุณได้อย่างปลอดภัย มั่นใจได้ในความถูกต้องของข้อมูลไมโครไบโอม

::แหล่งอ้างอิง::

Reid, Ann and Greene, Shannon. Human Microbiome FAQ. The American Academy of Microbiology. 2013.

Selkrig J, Wong P, Zhang X, Pettersson S. Metabolic tinkering by the gut microbiome: Implications for brain development and function. Gut Microbes 2014 Mar 31; 5 (3).

Yukihiro Furusawa, Yuuki Obata, Shinji Fukuda, Takaho A. Endo, Gako Nakato, et al. Commensal microbe-derived butyrate induces the differentiation of colonic regulatory T cells. Nature, 2013 DOI: 10.1038/nature 12721.

Gut Microbiota Worlwatch. Everything you always wanted to know about the Gut microbiota. Public Information Service from European Society of Neurogastroenterology and Motility. http://www.gutmicrobiotawatch.org/gut-microbiota-info/. Accessed June 3 2014.Lawrence, David A, et al. Diet rapidly and reproducibly alters the human gut microbiome. Nature. 505, 559-563. 11 December