ตรวจ GMO จะเลือกเทคนิค PCR หรือ Real time PCR ดี ?

ในบทความนี้ผมได้รวบรวมข้อมูลและประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ที่กำลังศึกษาข้อมูลในการ set lab ตรวจ GMO ทั้งเรื่อง เอกสารอ้างอิง ขั้นตอนการทำงาน รูปแบบการแปลผล รวมถึงการประมาณการลงทุน และราคาต่อตัวอย่าง เป็นต้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยครับ

  • ทั้ง 2 เทคนิค มีหลักการในการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่เราสนใจ เหมือนกันคือ อาศัยการเพิ่ม ลด อุณหภูมิ อย่างมีรูปแบบ โดยมีชื่อเรียกแต่ละอุณหภูมิดังนี้ 1. Denaturation 94-95 C เป็นอุณหภูมิที่จะทำให้ดีเอ็นเอแยกสายออกจากกัน 2. Annealing  อุณหภูมิในขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับ Primer ที่เราออกแบบ โดยทั่วไปจะประมาณ 55-68 C (มีโปรแกรมช่วยในการคำนวณ) ขั้นตอนนี้ primer จะเข้าไปจับกับบริเวณยีน ที่เราต้องการเพิ่มปริมาณ 3. Elongation เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ DNA Polymerase ซึ่งมีหน้าที่ในการนำ nucleotide (A,T,C,G) เข้าไปต่อจนครบสายของ DNA ต้นแบบ
  • ที่แตกต่างกันคือ ขั้นตอนการติดตามผลของปฏิกิริยาที่เกิดขั้น กล่าวคือ PCR ต้องรอให้ปฏิกิริยาสิ้นสุดก่อนถึงจะนำไปพิสูจน์ผล ในขณะที่ Real time PCR สามารถติดตามผลได้ในขณะเกิดปฏิกิริยาเลย โดยอาศัยการเปร่งแสงของสีฟลูออเรสเซนต์

  • ส่วนในหัวนี้ ผมได้แสดงขั้นตอนการทำงานเปรียบเทียบระหว่าง 2 เทคนิค จะเห็นได้ชัดเจนว่าเทคนิค real time PCR มีขั้นตอนน้อยกว่า เมื่อพิจารณาขั้นตอนการทำงานที่น้อยกว่านั้น พบว่าวิธี real time PCR สามารถประหยัดเวลาการทำงานได้ดีกว่าเทคนิค PCR โดยประมาณ 1-2 ชั่วโมงเลยทีเดียว
  • หากวิเคราะห์ว่าขั้นตอนที่น้อยลงของเทคนิค real time PCR ก็แลกมาด้วยกับราคาเครื่องที่แพงกว่ามากๆ ด้วยเช่นกัน คำตอบคือใช่ ที่ราคาเครื่อง real time PCR แพงมากจริงๆ แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ การที่จะแปลผลของเทคนิค PCR ให้ได้ผลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและคุณภาพของเครื่องมือนั้นๆ ด้วยเช่นกัน รวมทั้งประสบการณ์ของผู้แปลผลนั้นก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน เมื่อบวกลบกันจริงๆ ผมว่าการลงทุนกับเครื่อง real time PCR ในช่วงเวลานี้นั้นคุ้มค่ากว่าจริงๆ เพราะสามารถขจัดจุดด้อยในขั้นตอนการแปลผลของเทคนิค PCR ได้นั้นเอง